วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อะซีโตน

อะซีโตน (C3H6O) หรือไดเมทิลคีโตนหรือไดเมทิล ฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นของเหลว ไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายมินต์ ใช้เป็นสาร ทำละลาย ในกระบวนการต่างๆ ของเรซิน แลกเกอร์ ไขขี้ผึ้ง ส่วนผสมของหมึกพิมพ์ พลาสติก วาร์นิช และสารสกัด ไขมันต่างๆ



 พิษของอะซีโตน

อะซีโตนเป็นสารมีพิษทั้งชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง ดังนี้
พิษชนิดเฉียบพลัน
  • โดยการหายใจ ถ้าความเข้มข้นต่ำจะไม่เกิดอาการใดๆ แต่ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) จะก่อ ให้เกิดความระคายเคืองที่จมูกและคอ ถ้าความเข้มข้นมากกว่า 10,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) จะก่อให้เกิดอาการปวด ศีรษะอ่อนเพลีย เซื่องซึม คลื่นไส้คล้ายคนเมาเหล้า ที่ความเข้มข้นสูงมากๆ จะทำให้โคม่าหรือเสียชีวิตได้
  • โดยการสัมผัส ที่ความเข้มข้น 1,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ส่วนของไอระเหยจะทำให้ระคายเคืองที่ตาและผิวหนัง
  • โดยการรับประทาน จะทำให้ระคายเคืองที่ คอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร หากรับประทานเข้าไปในปริมาณ มากจะก่อให้เกิดอาการเช่นเดียวกับที่ได้รับโดยการหายใจ
พิษชนิดเรื้อรัง
หากสัมผัสกับสารอะซีโตนเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ผิวหนังสูญเสียไขมันไปและทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบ แต่ถ้าหากหายใจเอาสารที่ความ เข้มข้น 1,000 ส่วนในล้านส่วน (ppm) 3 ชั่วโมงต่อวัน ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7–15 ปี จะก่อให้เกิดความระคายเคืองที่ จมูก คอ มึนงง ปวดศีรษะและ ร่างกายไม่แข็งแรง



การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ถ้าหากสารอะซีโตนเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำอุ่นไหลผ่านเบาๆ อย่างน้อย 15 นาที จากนั้นจึงส่งให้แพทย์รักษาต่อไป หากสัมผัส กับผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำไหลผ่านอย่างน้อย 10 นาที แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปให้ผู้ป่วยบ้วนปากด้วยน้ำและดื่มน้ำประมาณ 240–300 มิลลิลิตร เพื่อเจือจางสารในกระเพาะห้ามกระตุ้นให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเด็ดขาด



การจัดเก็บ

สาร จะต้องเก็บในภาชนะที่มีการปิดผนึกอย่างดี มีฉลากกำกับอย่างชัดเจนและเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี เย็นและแห้ง ไม่ควรเก็บปะปนกับตัวออกซิไดส์ สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน นอกจากนี้สารอะซีโตนยังสามารถลุกติดไฟได้ใน อุณหภูมิปกติ ถ้าต้องเก็บในปริมาณมากๆ ควรจัดเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง
ไว้ใกล้ๆ
 

ไมโครบอลลูน

ไมโครบอลลูน   ใช้ผสมในสีโป๊ว เพื่อให้ง่านต่อการขัด ทำให้ชิ้นงานเนียน และมีน้ำหนักเบา

เจลโค๊ต ( Gle Coat )

เจลโค๊ต   ( Gle Coat )


 คือส่วนที่ปิดผิวหน้าของชิ้นงาน หรือ สีผิวงาน สามารถ ทำเป็นสีต่าง ๆ ได้จะช่วยให้ชิ้นงานมีสีเงางามมาก


 


 
       

สไตรีนโมโนเมอร์

สไตรีนโมโนเมอร์ ( Styrein Monomer ) เป็นตัวทำละลาย ช่วยลดความหนืดของเรซิ่น เพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น